กรณีศึกษา
การเงิน / ประกันภัย
สหภาพสหกรณ์เพื่อผู้บริโภค โค-ออพ เคียวไซ
[การให้บริการผ่าน Line Chat]
นำ Line Chat ให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันด้วยระบบ Line Chat
ประโยชน์ของการนำ LINE Chat และ AI Chatbot มาใช้งาน
- ติดตั้งผลิตภัณฑ์/ โซลูชั่น
- FastHelp5
- FastAnswer2
- FastChat
ประเภทคลาวด์
- แท็กค้นหา
- Knowledge Management
- จัดการความรู้
- ลดต้นทุน
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
บทสัมภาษณ์
-
หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการศูนย์บริการลูกค้า สำนักงานใหญ่
คุณมาซาฮิโกะ คาวาดะ
-
หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการศูนย์บริการลูกค้า สำนักงานใหญ่
คุณฮิโตริ ซูเอดะ
สหภาพสหกรณ์เพื่อผู้บริโภค โค-ออพ เคียวไซ ประเทศญี่ปุ่น (ต่อไปนี้เรียกว่า โค-ออพ เคียวไซ) ได้นำระบบ FastAnswer ซึ่งเป็นระบบฐานความรู้สำหรับคำถามที่พบบ่อย (FAQ) มาใช้ตั้งแต่ปี 2015 และในปี 2017 ได้มีการเชื่อมต่อกับฟังก์ชั่นตัวเลือกสคริปต์บทสนทนา (Talk script) ของ FastHelp ทำให้สามารถรับสายและให้บริการลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบในขั้นตอนเดียว ช่วยให้สามารถเลิกใช้สคริปต์บทสนทนาแบบกระดาษและลดระยะเวลาในการดำเนินการลงได้มาก (*)
(*) สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อตัวเลือกสคริปต์บทสนทนาของ FastHelp เข้ากับ FastAnswer สามารถดูได้จากบทความ "ลดเวลาในการดำเนินการเฉลี่ย (AHT) ลงได้ 30 วินาที - ผลการพิสูจน์จากการบูรณาการระหว่างการใช้สคริปต์บทสนทนาและฐานความรู้จาก FAQ"
สารบัญ |
---|
|
โค-ออพ เคียวไซ ใส่ใจในชีวิตประจำวัน สร้างสรรค์ชีวิตที่ดีกว่าให้สมาชิก
สหภาพสหกรณ์เพื่อผู้บริโภค โค-ออพ เคียวไซ ประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งโดยสหกรณ์ที่ให้บริการผลิตภัณฑ์ประกันภัย “โค-ออพ เคียวไซ” และสหภาพสหกรณ์ผู้บริโภคญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการด้านประกันภัยโดยเฉพาะ โดยมีสหกรณ์ที่ให้บริการ โค-ออพ เคียวไซ จำนวน 150 แห่ง สหพันธ์สหกรณ์แรงงานแห่งชาติ (เซ็นโรไซ) และสหภาพสหกรณ์ญี่ปุ่น(JCCU) ร่วมเป็นสมาชิก (*1)
โดยสหภาพสหกรณ์เพื่อผู้บริโภค โค-ออพ เคียวไซ ประเทศญี่ปุ่น มุ่งมั่นใส่ใจพัฒนาชีวิตประจำวัน ที่ดีกว่าให้สมาชิก ในปัจจุบันมีสมาชิกของ โค-ออพ เคียวไซ เพิ่มขึ้น 101.8% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งคิดเป็นจำนวนประมาณ 8.67 ล้านคน (*1)
*1: ณ วันที่ 20 มีนาคม 2018
ศูนย์บริการลูกค้าของ โค-ออพ เคียวไซ เริ่มดำเนินการในปี 2004 โดยความร่วมมือของสหกรณ์ 28 แห่ง เพื่อรวมศูนย์การให้บริการลูกค้า ที่แต่เดิมสหกรณ์กระจายอยู่ตามหน่วยงานแต่ละแห่ง มุ่งหวังที่จะลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการบริการให้ดีขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 มีจำนวนสหกรณ์ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเป็น 145 แห่ง
ณ ปัจจุบันมีศูนย์บริการลูกค้าตั้งอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ จังหวัดซัปโปโร, เซนได และนาฮะ โดยมีหน้าที่หลากหลาย เช่น
(1) การจัดการรับเอกสารกระบวนการต่างๆ จากสมาชิกสมาคมทั่วไป
(2) บริการสนับสนุนสมาชิกสหกรณ์
(3) รับคำร้องขอข้อมูล
(4) นอกจากให้บริการช่วยเหลือต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ยังให้บริการรับสายขาเข้าต่างๆ
(5) ติดต่อลูกค้า (Outbound) เพื่อเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการต่อสัญญา
(6) เราให้บริการช่องทางติดต่อสอบถามผ่าน LINE รวมถึงบริการอื่นๆ
โดยการให้บริการสายจากเบอร์โทรฟรีของสหกรณ์คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 80 ของงานทั้งหมด และมีปริมาณการให้บริการมากกว่า 2 ล้านครั้งในแต่ละปี
จากจำนวนสายที่ได้รับ พบว่ามีสมาชิกประมาณ 1 ใน 4 ที่ติดต่อมายังศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ ดังนั้นจึงเป็นโจทย์สำคัญในต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการผ่านเว็บไซต์หรือ LINE เพื่อลดปริมาณรับสายโทรเข้า
ให้บริการสนับสนุนแชท LINE ที่มี AI Chatbot
ศูนย์บริการลูกค้าของโค-ออพ เคียวไซ มุ่งมั่นพัฒนาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการให้บริการ และลดภาระงานของพนักงาน โดยในปี 2018 ได้ริเริ่มให้บริการสนับสนุนด้วย LINE Chat ที่มี AI Chatbot
คุณคาวาดะกล่าวว่า "เรามีระยะเวลาเตรียมการก่อนเริ่มให้บริการประมาณ 4 เดือน" โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนหลัก
[1] เลือกคำถามที่พบบ่อย (FAQ) ให้ AI เรียนรู้
เราได้นำคำถามที่พบบ่อยจากการติดต่อสอบถามศูนย์บริการลูกค้าของเราเผยแพร่บนเว็บไซต์ในหน้า FAQ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 270 รายการ และเราก็ได้ใช้ข้อมูลความรู้ที่พบบ่อย (FAQ) ดังกล่าวให้ AI เรียนรู้
คุณซูเอดะกล่าวว่า “การนำคำถามที่พบบ่อย (FAQ) ที่เผยแพร่ให้กับสมาชิกอยู่แล้วมาใช้ ช่วยร่นระยะเวลาในการนำ AI มาใช้งานได้เร็วขึ้น”
และคุณคาวาดะเสริมว่า “เดิมทีเราได้สุ่มตัวอย่างข้อมูลการติดต่อสอบถามที่โทรเข้ามาที่ศูนย์บริการลูกค้า เพื่อตรวจสอบแนวโน้มและความสอดคล้อง และเพิ่ม ปรับ หรือทบทวนหัวข้อใน FAQ อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ FAQ อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ทันที ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง FAQ ใหม่จากศูนย์”
[2] การสร้างคำถาม-คำตอบในแต่ละสถานการณ์
เราได้นำคำถามที่พบบ่อย (FAQ) จาก [1] ทำการแยกเป็นคำถาม-คำตอบในแต่ละสถานการณ์ให้ AI เรียนรู้ ซึ่งในแต่ละสถานการณ์จะประกอบด้วยคำถามของคู่สนทนา (ผู้สอบถาม) และคำตอบที่หลากหลาย เพื่อให้ AI เข้าใจเจตนาของผู้สอบถามได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
■ ภาพ 1: ตัวอย่างคำถาม-คำตอบในแต่ละสถานการณ์
[3] เตรียมบัญชี LINE
คุณคาวาดะอธิบายว่า “เพื่อเพิ่มจำนวนเพื่อนใน LINE ทันทีที่เปิดตัวบริการ เราจึงสร้างบัญชี LINE เตรียมไว้ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านสิ่งพิมพ์ส่งทางไปรษณีย์ บริษัทได้แนบเอกสารประชาสัมพันธ์การเปิดบริการติดต่อสอบถามผ่าน LINE แนบไปกับสิ่งพิมพ์ส่งทางไปรษณีย์ประจำปีให้สมาชิก และเขากล่าวต่อว่า เนื่องจากเป็นสิ่งพิมพ์ จึงจำเป็นต้องวางแผนล่วงหน้า” และเขาได้ใส่ QR code ในสิ่งพิมพ์เพื่อลดความยุ่งยากในการสมัคร ให้คนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้น
[4] การปรับจูน AI
หลังการจัดทำคำถาม-คำตอบของสถานการณ์ตาม [2] เราได้เพิ่มตัวเลือก “ไม่มีข้อมูล” ไว้เป็นตัวเลือกสุดท้ายในทุกคำถาม ให้ผู้ใช้บริการสามารถระบุเพิ่มได้เมื่อไม่มีคำตอบที่ตรงใจ
ในกรณีดังกล่าว ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องจากรายการบนหน้าจอจัดการแชทบอท และทำให้ AI เรียนรู้จากข้อมูลนั้นได้
โดยกระบวนการปรับจูน AI เป็นระยะ แม้หลังเปิดให้บริการแล้ว ซึ่งจะช่วยให้สามารถตอบคำถามได้แม่นยำยิ่งขึ้น “ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการนำ AI มาใช้งาน ” คุณคาวาดะกล่าว
[5] การอบรมพนักงานในการให้บริการที่ใช้คน
เราได้วางระบบให้สามารถสลับช่องทางการให้บริการระหว่าง Chatbot ที่ให้บริการอัตโนมัติ และการตอบแชทโดยพนักงาน เพื่อให้ตอบสนองกับลูกค้าได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลาทำการ โดยเราเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการจัดฝึกอบรมให้พนักงานมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการใช้งานระบบ โดยเนื้อหาในสนทนาต้องมีบันทึกเบอร์โทรศัพท์และเนื้อหาคำตอบที่แตกต่างจากฐานข้อมูล
นอกจากนี้ เนื่องจากเนื้อหาของการตอบกลับในแชท ซึ่งแตกต่างจากการสนทนาทางโทรศัพท์ จะถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีการจัดอบรมเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถพิมพ์ข้อความที่สุภาพ หรือประโยคที่ไม่ใช้ภาษาพูดได้
หลังจากเตรียมการต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เราได้เริ่มให้บริการผ่าน LINE Chat ในเดือนสิงหาคม 2018
เชื่อมต่อ FastHelp และบริการสนับสนุนด้วย LINE Chat เข้าด้วยกัน เพื่อจัดการข้อมูลแบบรวมศูนย์ และขยายช่องทางให้บริการ เพื่อยกระดับการบริการลูกค้าให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น
“ระบบการให้บริการด้วย Line chat นี้เชื่อมต่อกับ FastHelp ทำให้สลับเปลี่ยนการให้บริการจาก Chat bot เป็นให้บริการโดยพนักงานได้อย่างราบรื่น” คุณซูเอดะกล่าว
■ ภาพ 2: ผังการให้บริการโดยใช้ LINE Chat
เนื่องจากหน้าจอสำหรับป้อนข้อมูลมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ LINE มาก จึงใช้งานได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังสามารถบันทึกประวัติการสนทนาได้ ทำให้สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างครบวงจร
ประโยชน์ที่ได้จากการให้บริการผ่านระบบ LINE Chat มี 3 ข้อดังนี้
[ประโยชน์จากการใช้งาน 1] สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง 365 วันต่อปี
ปัจจุบันสามารถให้บริการตอบการสอบถามข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สามารถตอบคำถามปริมาณมากนอกเวลาทำการปกติที่ไม่มีพนักงานได้อีกด้วย ซึ่งช่วยให้ AI สามารถตอบสนองต่อคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเกินขีดจำกัดของมนุษย์
นายซูเอดะกล่าวว่า "หากคาดหวังให้คนมาทำหน้าที่นี้แทน ในเวลาที่แทบจะไม่มีคนสอบถามเข้ามา จะเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่ำมาก”
ในกรณีของ โค-ออพ เคียวไซ มีการส่งคำขอผ่าน LINE Chat เฉลี่ยประมาณ 300 เคสต่อวัน (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2019) และในบางวันอาจสูงถึง 600 ครั้ง โดยประมาณครึ่งหนึ่งของคำขอส่งมานอกเวลาทำการของศูนย์บริการลูกค้า
นายคาวาดะกล่าวเสริมว่า "นอกจากนี้ ระบบ AI Chatbot ยังสามารถตอบคำถามและช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ด้วยตัวเองสูงถึง 80% ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจอย่างยิ่ง"
■ ภาพ 3: ประโยชน์จากการใช้งาน 1
[ประโยชน์จากการใช้งาน 2] ขยายช่องทาง
จากการเพิ่มช่องทางการติดต่ออื่นๆ นอกเหนือจากทางโทรศัพท์ ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อเราได้แม้ในขณะที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงรบกวน เช่น ระหว่างเดินทาง นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถสอบถามข้อมูลที่สงสัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น "ฉันแค่อยากสอบถามบางอย่าง"ช่วยให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
[ประโยชน์จากการใช้งาน 3] เชื่อมโยงการดำเนินการทางอินเทอร์เน็ต
การสอบถามข้อมูลบางอย่าง สามารถดำเนินการได้ทางออนไลน์ โดยเราจะแสดงรูปหน้าจอแนะนำขั้นตอนการเดินเรื่องผ่านทาง LINE Chat ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“เราจะไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลผ่าน LINE Chat ซึ่งเราจะใช้วิธีแสดงรูปหน้าจอแนะนำขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อให้สามารถเดินเรื่องได้แม้นอกเวลาทำการของศูนย์บริการลูกค้า นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ช่องทางอื่นในการดำเนินการต่างๆ นอกจากทางโทรศัพท์อีกด้วย" เขากล่าว
■ ภาพ 4: ประโยชน์การใช้งาน 2 และ 3
ศูนย์บริการลูกค้าที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง
หลังจากศูนย์บริการลูกค้าโค-ออพ เคียวไซ ได้เปิดให้บริการผ่าน LINE Chat เมื่อเดือนสิงหาคม 2018 ได้มีผู้มาเพิ่มเป็นเพื่อนบน LINE มากกว่า 13,000 คน ภายในระยะเวลาเพียง 4 เดือน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจมาก ซึ่งได้มีการสอบถามความคาดหวังในอนาคตของ ศูนย์บริการลูกค้าที่รองรับหลายช่องทางแห่งนี้
คุณคาวาดะกล่าว “ในอนาคตเรากำลังพิจารณาระบบส่งข้อความ SMS ไปยังลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ (IVR) ในกรณีที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ว่างให้บริการ เพื่อแนะนำให้ลูกค้าดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์แทน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะนำระบบเว็บแชทมาใช้ เพื่อติดต่อกับลูกค้าในระหว่างที่ลูกค้าที่กำลังดูเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ บนเว็บไซต์” เขากล่าวเพื่อเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสใด
กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง
-
Finance/Insurance
Gaitame.Com Co.,Ltd.
สิ่งสำคัญในการดำเนินการเปลี่ยนระบบ CRM สำหรับศูนย์บริการลูกค้า
-
Manufacturing
Daikin Industries, Ltd.
FastHelp5 และ FastAnswer2 มีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพการบริการ
~ การรวมช่องทางการติดต่อหลายช่องทาง ช่วยลดภาระงานในการบริหารจัดการได้อย่างมาก ~ -
Manufacturing
Toyota Connected Corporation
“FastHelp5” ช่วยในการรวบรวม Voice of Customer (VOC) และการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
~ FastHelp5 มีบทบาทอย่างมากในฐานะระบบ CRM ที่จำเป็นในการรองรับการใช้รถยนต์ของ Toyota -
-
- โทรศัพท์:
- (66)-2-666-4853(วันจันทร์ - ศุกร์ 9: 00–17: 00 น.)
(เวลาประเทศไทย)
-
- แบบฟอร์ม/ อีเมล
- ส่งคำถามทั้งหมดที่นี่
-
- คำถามที่พบบ่อย